วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

การทดลอง พื้นที่ผิวของสารกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

การทดลอง ความเข้มข้นของสารกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาระหว่างสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก

http://www.youtube.com/watch?v=CH8gH7xKCxQ

ปฏิกิริยาระหว่างแมกนีเซียม และแคลเซียมกับกรด



ตื่นเต้นไหมดูอีกอันซิ

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึง ปริมาณสารตั้งต้นที่หายไปต่อหนึ่งหน่วยเวลา หรือปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นต่อหนึ่งหน่วยเวลา
อัตราเร็วเฉลี่ย หมายถึง อัตราเร็วโดยเฉลี่ย ตั้งแต่เริ่มต้น จนปฏิกิริยาเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น อัตราเร็วเฉลี่ยในช่วง 10 วินาที (หาได้จากการทดลอง)อัตราเร็ว ณ เวลาหนึ่ง หมายถึง อัตราเร็วของปฏิกิริยาที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เช่น อัตราเร็ว ณ 10 วินาที (หาจากค่าความชันของกราฟระหว่างปริมาณสารกับเวลา)

การวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในการวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สามารถหาได้จากสารทุกตัวในปฏิกิริยาเคมีแต่นิยมวัดตัวที่หาง่ายและสะดวก ด้วยวิธี เช่นวัดจากปริมาณก๊าซที่เกิดขึ้น ,วัดตะกอนที่เกิดขึ้นวัดการนำไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป ,วัดความเข้มข้นที่เปลี่ยนแปลงไป วัดความเป็นกรด-เบสของสารละลาย ,วัดปริมาณสารที่เปลี่ยนแปลงไป วัดความดันที่เปลี่ยนแปลงไป ,วัดตะกอนที่เกิดขึ้น
การวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- จะวัดอย่างไงขึ้นอยู่กับความง่ายในการวัด
- ชั่งมวลดูว่าเพิ่ม/ลด เท่าไหร่ภายในเวลาที่กำหนด
- วัดปริมาตรที่เพิ่มขึ้น ถ้าปฏิกิริยา มี gas เกิดขึ้น
- วัดปริมาตรที่ลดลง ถ้าปฏิกิริยา มี gas เป็นสารตั้งตน และ productsที่ได้ไม่ใช่ gas- สำหรับระบบที่มี gas นอกจากวัด ปริมาตร เรายังวัด ความดัน ที่เกิดขึ้น หรือ ลดลงได้ แทนการวัดปริมาตร ซึ่งในบางครั้งทำได้ง่ายกว่า
- วัดสี หากปฏิกิริยาเป็นปฏิกิริยาที่มีสีเกี่ยวข้อง หมายความว่าเราอาจวัดการลดลง หรือ เพิ่มขึ้นของสีได้
(1) วัดปริมาณสารตั้งต้นที่เปลี่ยนไป เช่นในการทดลองของนักเรียนอาจความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก หรือมวลของโลหะ
(2) วัดปริมาณสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น เช่นในการทดลองของนักเรียนอาจปริมาตรก๊าซ หรือความเข้มข้นของสารละลายเกลือที่เกิดขึ้น
(3) วัดความดันของระบบที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
(4) วัดปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้น ในกรณีผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นของแข็ง
(5) วัดความเข้มของสีที่เกิดขึ้น หรือหายไป
(6) วัดการนำไฟฟ้าของสาร
การเกิดปฏิกิริยาเคมี ทฤษฎีที่ใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมี มีอยู่ 3 ทฤษฎีคือ

1. ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ที่อุณหภูมิหนึ่งแก๊สที่มีความเร็วต่างกันจะมีพลังงานจลน์ต่างกัน แก๊สที่มีความเร็วต่ำจะมีพลังงานจลน์ต่ำ และแก๊สที่มีความเร็วสูงจะมีพลังงานจลน์สูงเมื่อชนกันจะมีพลังงานหลังการชนสูง จึงมีพลังงานมากพอที่จะใช้ในการสลายพันธะของสารตั้งต้นและสร้างพันธะของผลิตภัณฑ์จึงอเกิดปฏิกิริยาเคมีได้

2. ทฤษฎีการชน (The Collision Theory) ทฤษฎีนี้อธิบายว่าปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นต้องมาปะทะกันหรือมาชนกัน และการชนกันนั้นมีทั้งการชนที่ประสบผลสำเร็จ คือ สารตั้งต้นเริ่มเปลี่ยนเป็นสารผลิตภัณฑ์และการชนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ คือ ชนกันแล้วไม่เกิดสารผลิตภัณฑ์ การชนที่ประสบผลสำเร็จจะต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ ประการแรก อนุภาคของสารตั้งต้นจะต้องชนกันในแง่มุมและทิศทางที่เหมาะสมที่จะทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้ ประการที่สอง อนุภาคของสารตั้งต้นต้องมีพลังงานสูงพอที่จะทำลายพันธะเก่าและสร้างพันธะใหม่ได้ หรืออาจกล่าวว่าอนุภาคต้องมีพลังงานอย่างต่ำค่าหนึ่งซึ่งเป็นค่ากำหนดความสามารถในการเกิดปฏิกิริยา เรียกพลังงานนี้ว่า พลังงานก่อกัมมันต์ (Activated Energy :Ea) ดังนั้นในความหมายของทฤษฎีนี้ปัจจัยใด ๆ ที่สามารถเพิ่มจำนวนครั้งของการชน หรือเพิ่มพลังงานให้กับอนุภาค จะเป็นการเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยา พลังงานก่อกัมมันต์ (Activated Energy : Ea) พลังงานก่อกัมมันต์ คือ พลังงานที่ต่ำสุดที่อนุภาคของสารตั้งต้นจะต้องมีเพื่อให้ชนกันแล้วเกิด ปฏิกิริยาได้ ซึ่งค่าพลังงานก่อกัมมันต์จะขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสารตั้งต้น และจะเป็นค่าเฉพาะของแต่ละปฏิกิริยา ปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์สูงจะเกิดช้า ส่วนปฏิกิริยาที่มีพลังงาน ก่อกัมมันต์ต่ำจะเกิดเร็ว

3. ทฤษฎีแอกติเวเตดคอมเพลกซ์หรือทฤษฎีสภาวะแทรนซิชัน (The Activated Complex Theory or The Transition State Theory) เป็นทฤษฎีที่ดัดแปลงมาจากทฤษฎีการชน โดยทฤษฎีนี้จะกล่าวถึงการชนอย่างมีประสิทธิภาพของสารตั้งต้นในลักษณะที่เหมาะสม โดยจะเกิดเป็นสารประกอบใหม่ชั่วคราว ที่เรียกว่า สารเชิงซ้อนที่ถูกกระตุ้น (Activated Complex) ซึ่งในระหว่างการเกิดสารชนิดนี้พันธะเคมีของสารตั้งต้นจะอ่อนลง และเริ่มมีการสร้างพันธะใหม่ระหว่างคู่อะตอมที่เหมาะสม จนในที่สุดพันธะเก่าจะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง และจะมีพันธะใหม่ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ โดยสารเชิงซ้อนที่ถูกกระตุ้นนั้น จะอยู่ในภาวะที่ไม่เสถียร ซึ่งอาจจะสลายตัวไปเป็นสารผลิตภัณฑ์ หรืออาจจะเปลี่ยนกลับไปเป็นสารตั้งต้นก็ได้ จึงถือได้ว่าเป็นสารที่มีอายุสั้นมาก

ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้

1. การชนกันของอนุภาคของสารตั้งต้น อนุภาคอาจเป็นโมเลกุล อะตอมหรือไอออนก็ได้ การชนกันที่เหมาะสมของอนุภาคจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี

2. ทิศทางการชน การชนกันของอนุภาคต้องอยู่ในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อให้พันธะเก่าสลายตัวและเกิดพันธะใหม่ ปฏิกิริยาจึงจะเกิดขึ้น

3. พลังงาน อนุภาคของสารที่เข้าทำปฏิกิริยาต้องมีพลังงานเพียงพอในการทำให้พันธะเก่าที่ยึดเหนี่ยวอนุภาคไว้เข้าด้วยกันสลายตัวพลังงานนี้ต้องมีค่าอย่างน้อยที่สุดเท่ากับพลังงานก่อกัมมันต์ พลังงานก่อกัมมันต์ (Activation Energy) ย่อด้วย Ea คือ พลังงานที่น้อยที่สุดที่เกิดจากการชนกันของอนุภาคแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยา มีหน่วยเป็น KJ/mol หรือ Kcal/mol

ลักษณะสำคัญของพลังงานก่อกัมมันต์

1. ปฏิกิริยาต่อชนิดกับพลังงานก่อกัมมันต์ ต่างกัน

2.. ปฏิกิริยาที่มีค่าพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำ จะเกิดปฏิกิริยาง่ายกว่าปฏิกิริยาที่มีพลังงานก่อกัมมันต์สูง

3. พลังงานก่อกัมมันต์ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กล่าวคือ ค่าพลังงานก่อกัมมันต์จะสูงหรือต่ำก็ได้เมื่อค่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาต่ำ

4. พลังงานก่อกัมมันต์สูงหรือไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานของปฏิกิริยา (DE)

แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีสามารถใช้ทฤษฎีอธิบายได้ 2 ทฤษฎี คือ 1.ทฤษฎีการชน (The Collision Theory) ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีอนุภาค ของสารตั้งต้น(โมเลกุล อะตอม หรือ ไอออน )ต้องมีการชนกัน แต่การชนทุกครั้งไม่ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาเสมอไป และพบว่าการชนในลักษณะ ที่เหมาะสมและพลังงานการชนที่มีค่าสูงกว่าค่าหนึ่งเสมอที่เรียกว่า พลังงานก่อกัมมันต์(Activation Energy)หรือ Ea จึงจะเป็นการชนที่มีประสิทธิภาพ 2.ทฤษฎีแอกติเวเตด-คอมเพลกซ์(The Activated Complex Theory)หรือ ทฤษฏีสภาวะทรานซิชัน(The Transition State Theory) เป็นผลงานของเฮนรี ไอย์ริง(Henry Eyring) ได้กล่าวถึงการเข้าชนอย่างมีประสิทธิภาพ ของสารตั้งต้นในลักษณะที่เหมาะสมเกิดเป็นสารประกอบใหม่ที่เกิดขึ้น ชั่วคราว เรียกว่า สารเชิงซ้อนถูกกระตุ้น(Activated Complex)แล้วจึงสลายตัวให้ผลิต ภัณฑ์ต่อไป เช่น x + y— (x-----y)# —z ในระหว่างการเกิดสารเชิงซ้อนถูกกระตุ้นนี้ พันธะเคมีของสารเริ่มต้นจะเริ่มคลายออกจากกันและเริ่มมีพันธะเคมีอย่างอ่อนๆ ระหว่างอะตอมคู่ที่เหมาะสม จนเมื่อสารเชิงซ้อนถูกกระตุ้นสลายตัว ให้ผลิตภัณฑ์พันธะเดิมจะถูกทำลายในขณะที่พันธะใหม่ถูกสร้างขึ้น โดยสารเชิงซ้อนถูกกระตุ้นจะอยู่ในสภาวะที่ไม่เสถียรและมีพลังงานสูงมาก เรียกว่าสภาวะทรานซิชัน(Transition State)ดังนั้นอนุภาคของสารตั้งต้นจะ เกิดปฏิกิริยาได้ก็ต้องมีพลังงานอย่างน้อยเท่ากับพลังงานกระตุ้น จึงกล่าวได้ว่าพลังงาน ของสภาวะทรานวิชันเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานของสารตั้งต้นจะมีค่า ประมาณ Ea นั่นเอง หมายเหตุ สารเชิงซ้อนถูกกระตุ้น เป็นแบบจำลองของทฤษฎี และไม่มีเกิดขึ้นจริงในธรรมชาติจึงไม่สามารถตรวจสอบได้

พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา

1.กรณีที่ปฏิกิริยามีเพียงขั้นตอนเดียว จะมี 2 ประเภท

1.1ปฏิกิริยาดูดพลังงาน (Endothermic Reaction) เป็นปฏิกิริยาที่มีการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบ ดังนั้นสารผลิตภัณฑ์จะมีพลังงานสูงกว่าสารตั้งต้น

1.2ปฏิกิริยาคายพลังงาน(Exothermic Reaction)เป็นปฏิกิริยาที่มีการถ่ายเทพลังงานจากระบบไปสู่สิ่งแวดล้อม ดังนั้นสารตั้งต้นจะมีพลังงานสูงกว่าสารผลิตภัณฑ์

2.กรณีปฏิกิริยาเคมีมีหลายขั้นตอน ปฏิกิริยาที่มีหลายขั้นตอนแสดงว่ามีกลไก(mechanism)ของปฏิกิริยาหรือวิธีทางของการเกิดปฏิกิริยามี Ea ได้หลายค่า โดยขั้นที่มีค่า Ea มากที่สุด(ขั้นที่เกิดได้ช้าที่สุด)เป็นขั้นกำหนดอัตรา

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ได้แก่ ธรรมชาติของสารตั้งต้น ความเข้มข้นของสารตั้งต้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิ ตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวยับยั้งปฏิกิริยา

.1 ธรรมชาติของสารตั้งต้น : สารตั้งต้นบางชนิดทำปฏิกิริยาได้เร็วแต่บางชนิดทำปฏิกิริยาได้ช้า เช่น แผ่นโลหะทองแดง หรือแผ่นโลหะเงินจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ช้ามาก แม้ว่าจะใช้เปลวไฟช่วยก็ไม่สามารถทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วได้ ส่วนแผ่นโลหะแมกนีเซียมสามารถติดไฟได้เร็วมาก หรือฟอสฟอรัสขาวสามารถติดไฟได้เลยในอากาศ เป็นต้น

4.2 ความเข้มข้นของสารตั้งต้น(หรือความดันในกรณีของก๊าซ)การศึกษาผลของความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาต่างๆทำได้โดยการทดลองวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่เวลาเริ่มต้น เรียกว่า อัตราเริ่มต้น (Initial Rate) ในทางปฏิบัติสามารถติดตามความเข้มข้นของสารตั้งต้นของสารตั้งต้นหรือผลิตภัณฑ์ที่เวลาต่างๆแล้วนำมาเขียนกราฟระหว่างความเข้มข้นกับเวลา ในการทดลองเป็นชุดๆโดยแปรผันความเข้มข้นของสารตั้งต้นตัวใดตัวหนึ่ง ขณะที่ความเข้มข้นของสารอื่นๆและสภาวะต่างๆคงที่ ก็สามารถศึกษาความเข้มข้นเริ่มต้น

4.3 พื้นที่ผิว(ขนาดของอนุภาคของแข็ง)ในปฏิกิริยาวิวิธพันธ์(Heterogeneous Reaction)ในปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ที่ของแข็งทำปฏิกิริยากับก๊าซหรือสารละลายนอกจากปัจจัยอื่นๆมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาแล้ว อัตราการเกิดปฏิกิริยายังเป็นสัดส่วนโดยตรงกับพื้นที่ผิวด้วย เนื่องจากปฏิกิริยาชนิดนี้เกิดเฉพาะที่ผิวของวัฏภาคเท่านั้น กล่าวคือถ้าเพิ่มพื้นที่ผิวให้มากขึ้น(ทำให้ขนาดของสารเล็กลงมากๆ)อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มสูงขึ้นเช่น เมื่อนำลวดแมกนีเซียมซึ่งเป็นของแข็งทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดไฮโดรคลอริกจะเกิดปฏิกิริยาดังสมการMg(s) +2HCl--- >MgCl2(aq) + H2(g)จากปฏิกิริยาถ้าเพิ่มพื้นที่ผิวให้กับลวดแมกนีเซียม(มวลคงที่) เช่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆหรือบดให้เป็นผงละเอียดจะมีผลทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น

4.4 อุณหภูมิ(Temperature)จากการทดลองพบว่าปฎิกิริยาเคมีจำนวนมากมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาต่ำที่อุณหภูมิปกติ แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งอาจเกิดการระเบิดได้โดยทั่วไปแล้วค่าคงที่อัตราจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 0c จากปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะใช้ทฤษฎีการชนเพียงอย่างเดียวมาอธิบายไม่ได้จะต้องใช้ความรู้เรื่องการกระจายพลังงานจลน์ของก๊าซที่อุณหภูมิต่างๆมาอธิบายด้วยกล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทำให้จำนวนโมเลกุลของก๊าซที่มีพลังงานจลน์สูงพอที่จะทำให้การชนกันนั้นได้พลังงานสูงเท่ากับหรือมากกว่าพลังงานก่อกัมมันต์เพิ่มมากขึ้น เมื่อจำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานมากพอมีจำนวนมากขึ้น การชนกันของโมเลกุลที่เป็นผลสำเร็จก็มีมากขึ้นหรืออัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงขึ้นนั่นเอง

4.5 ตัวเร่งและตัวยับยั้งปฏิกิริยาเคมี(Catalyst and Inhibitor) ตัวเร่งปฏิกิริยา(catalyst)คือเป็นสารที่ช่วยเร่งให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้นโดยมีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วยสมอ แต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาหรือสารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์แล้วก็จะได้ตัวเร่งปฏิกิริยากลับคืนมาเท่าเดิม

ตัวยับยั้งปฏิกิริยา(Inhibitor) คือสารที่เมื่อเติมลงไปในปฏิกิริยาแล้วมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ช้าลง หรือหยุดยั้งปฏิกิริยาได้อย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังพบว่าตัวยับยั้งปฏิกิริยาไม่เพียงแต่สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดปฏิกิริยาเท่านั้น แต่ยังสามารถเปลี่ยนองค์ประกอบสมดุลเทอร์โมไดนามิกส์ของระบบได้ด้วย แสดงว่าตัวยับยั้งเองถูกเปลี่ยนแปลงในปฏิกิริยาสุทธิ จึงไม่จัดตัวยับยั้งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแบบลบ(Negative Catalyst)

ลองเปิดอ่านเนื้อหาทั้งหมดจากผลงานของรุ่นพี่จากเวปข้างล่างเน้อ
http://74.125.153.132/search?q=cache:VMvIkFlcMA4J:www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem20/rate_3.html+%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5&cd=27&hl=th&ct=clnk&gl=th

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี

การเกิดปฏิกิริยาเคมีถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี
มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิมเช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้นปฏิริยาเคมีคืออะไรปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารแล้วส่งผลให้ได้สารใหม่ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องเกิดจากสารตั้งต้น (reactant) ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้ 5 ชนิด ได้แก่
1. ปฏิกิริยาการรวมตัว A +Z -------> AZ
2. ปฏิกิริยาการสลายตัว AZ -------> A +Z
3. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว A + BZ -------> AZ + B
4. ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่ AX+BZ -------> AZ + BX
5. ปฏิกิริยาสะเทิน HX+BOH -------> BX + HOH
สังเกตได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเราสามารสังเกตได้ว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นโดยสังเกตสิ่งต่อไปนี้มีฟองแก๊สมีตะกอนสีของสารเปลี่ยนไป อุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลงพลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีในการเกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารใหม่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องมีพลังงานเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง มักจะให้พลังงานความร้อน พลังงานแสง หรือพลังงานชนิดอื่นเป็นผลพลอยได้ การเผาผลาญอาหารในร่างกายของเรา ก็มีพลังงานเกิดขึ้น เราจึงสามารถนำพลังงานจากการเผาผลาญอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดปฏิกิริยาเคมี มี 2 ประเภท คือ
1. ปฏิกิริยาคายความร้อน (exothermic reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมา แก่สิ่งแวดล้อม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาผลาญอาหารในร่างกาย เป็นต้น
2. ปฏิกิริยาดูดความร้อน (endothermic reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้ว ดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ C + O2 ------> CO2
ปฏิกิริยาการสันดาปในแก๊สหุงต้ม 2C4H10 + 13O2 ------> 8CO2 + 10H2O
ปฏิกิริยาการเกิดฝนกรด SO3 + H2 O ------> H2SO4
ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก 4Fe + 3O2 ------> 2Fe2O3 . H2O
วีดีโอแสดงการเกิดปฏิกิริยาเคมี
http://www.youtube.com/watch?v=RWzZoaAOE3Y

เล่นเกมส์แก้เซ็ง

เกมส์ตารางธาตุ เป็นยังไงลองเปิดดูซิ
http://74.125.153.132/search?q=cache:9hdaH9NQat4J:www.electron.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php%3Foption%3Dcom_content%26task%3Dview%26id%3D3349%26Itemid%3D10+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
http://74.125.153.132/search?q=cache:Ij_OimlQt6IJ:202.143.135.242/nongnuch/chem/dt/tdl.html+%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th

ธาตุทั้งหมดมีข้อมูลอย่างไรลองคลิกดูนะ
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/periodic1.html

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ
http://74.125.153.132/search?q=cache:Qs6Y1ih8zl4J:203.172.238.67/M64/6421/learning/charter_7_1.asp%3Fp%3D1%26c%3D7+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th

ข้อสอบGAT PAT

ครั้งที่1
http://74.125.153.132/search?q=cache:DF2Uq6NNCLAJ:forums.212cafe.com/gifted/board-3/topic-4.html+%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9Agat+pat%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%881&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th
ครั้งที่2
http://74.125.153.132/search?q=cache:66Q8xFta950J:teacherooh.com/story/title/94+%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9Apat2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

ทำไมติดF

รู้มั้ย . . . ทำไม ถึงติด F โดย : ฮาโตริ เมื่อ : 28/05/2007 04:10 PMไม่ใช่ความผิดของเราเลยนะที่สอบตก เพราะที่จริงแล้วในหนึ่งปีมี แค่365วันเท่านั้นเองใครจะไปอ่านหนังสือทันจิงมั๊ย).....!!!!มาดูเหตุผลที่ทำให้ไม่มีเวลาอ่านหนังสือจิ...(^0^)>>>1)ใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ แสดงว่ามีวันอาทิตย์ 52 วันวันอาทิตย์เป็นวันแห่งการพักผ่อน นะ ไม่ควรเรียนหนังสือ เหลือวันอีก 313วัน2) วันหยุดตอนปิดเทอมประมาณ 50 วัน ปิดเทอมก็ต้องเที่ยวเดะ แถมอากาศยังร้อน เกินไปที่จะเรียนหนังสือด้วย เหลือวันอีก 263 วัน3)เพื่อสุขภาพที่ดี คนเราควรนอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวันนั่นคือเราจะนอน ประมาณ 130 วันต่อปี เหลือวันอีก 141 วัน4)เพื่อสุขภาพที่ดีอีกเช่นกัน คนเราควรหาเวลาเล่นกีฬาอย่างน้อย 1ชั่วโมงต่อ วันนั่นคือประมาณ 15 วันต่อปี เหลือวันอีก 126วัน5)คนเราจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และควรใช้เวลาในการค่อยๆเคี้ยว และกลืนอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคือเราควรให้ เวลากับการกินประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน คือ30วันต่อปีเหลือวันอีก 96 วัน6) คนเราเป็นสัตว์สังคมต้องมีการสื่อสารกับผู้อื่นดังนั้น เราควรให้เวลาใน การพูดคุยกับผู้อื่นอย่างน้อยวันละ 1ชั่วโมง คิดเป็น15 วันต่อปี เหลือวันอีก 81 วัน7) วันสอบทั้งมิดเทอม ทั้งไฟนอลอีกเกือบ 35วัน คุณจะเอาเวลาสอบไปเรียน หนังสือเหรอ เหลือวันอีก 46 วัน วันหยุดตามเทศกาลและวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ อีกกว่า 40วัน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าวันหยุดเหลือวันอีก 6 วัน9) แล้วต้องเผื่อว่าเราไม่สบายขึ้นมาอีกจะได้มีเวลารักษาตัวประมาณสัก 3 วัน เหลือวันอีก 3 วัน10)คนเราจะอยู่แต่กับบทเรียนก็ไม่ได้ ต้องหาความสนุกใส่ตัวบ้างเช่นไปดูหนัง ฟังเพลงอย่างน้อยรวมๆ แล้วก็ประมาณ 2 วันต่อปี เหลือวันอีก1วัน11) อีกวันหนึ่งก็คือวันเกิดคุณไง!!!คุณจะเรียนหนังสือตอนวันเกิดคุณ เหรอ... >ไม่มีทาง เหลือวันอีก 0วันแล้วอย่างเงี้ย...!! จะไม่ให้สอบตก ได้ไงอ่ะ.....ใช่ปะ... เซ็ง

สอบตก

สอบตกอีกแล้วเพราะอะไรน้อ
http://www.youtube.com/watch?v=uRMnqf5DZbk

http://www.youtube.com/watch?v=-Y0qVtfrXBE

http://www.youtube.com/watch?v=9CqB7MofYJw

ประโยชน์และโทษของกัมมันตภาพรังสีประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี

ประโยชน์และโทษของกัมมันตภาพรังสีประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
1. ด้านธรณีวิทยา มีการใช้ C-14 คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ หรืออายุของซากดึกดำบรรพ์ซึ่งหาได้ดังนี้ ในบรรยากาศมี C-14 ซึ่งเกิดจากไนโตรเจน รวมตัวกับนิวตรอนจากรังสีคอสมิกจนเกิดปฏิกิริยา แล้ว C-14 ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน แล้วผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช และสัตว์กินพืช คนกินสัตว์และพืช ในขณะที่พืชหรือสัตว์ยังมีชีวิตอยู่ C-14 จะถูกรับเข้าไปและขับออกตลอดเวลา เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง การรับ C-14 ก็จะสิ้นสุดลงและมีการสลายตัวทำให้ปริมาณลดลงเรื่อยๆ ตามครึ่งชีวิตของ C-14 ซึ่งเท่ากับ 5730 ปี ดังนั้น ถ้าทราบอัตราการสลายตัวของ C-14 ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่และทราบอัตราการสลายตัวในขณะที่ต้องการคำนวณอายุวัตถุนั้น ก็สามารถทำนายอายุได้ เช่น ซากสัตว์โบราณชนิดหนึ่งมีอัตราการสลายตัวของ C-14 ลดลงไปครึ่งหนึ่งจากของเดิมขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื่องจาก C-14 มีครึ่งขีวิต 5730 ปี จึงอาจสรุปได้ว่าซากสัตว์โบราณชนิดนั้นมีอายุประมาณ 5730 ปี
2.. ด้านการแพทย์ ใช้รักษาโรคมะเร็ง ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด กระทำได้โดยการฉายรังสีแกมมาที่ได้จาก โคบอลต์-60 เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วยังใช้โซเดียม-24 ที่อยู่ในรูปของ NaCl ฉีดเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อตรวจการไหลเวียนของโลหิต โดย โซเดียม-24 จะสลายให้รังสีบีตาซึ่งสามารถตรวจวัดได้ และสามารถบอกได้ว่ามีการตีบตันของเส้นเลือดหรือไม่
3. ด้านเกษตรกรรม มีการใช้ธาตุกัมมันตรังสีติดตามระยะเวลาการหมุนเวียนแร่ธาตุในพืช โดยเริ่มต้นจากการดูดซึมที่รากจนกระทั่งถึงการคายออกที่ใบ หรือใช้ศึกษาความต้องการแร่ธาตุของพืช
4. ด้านอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นโลหะ จะใช้ประโยชน์จากกัมมันตภาพรังสีในการควบคุมการรีดแผ่นโลหะ เพื่อให้ได้ความหนาสม่ำเสมอตลอดแผ่น โดยใช้รังสีบีตายิงผ่านแนวตั้งฉากกับแผ่นโลหะที่รีดแล้ว แล้ววัดปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านแผ่นโลหะออกมาด้วยเครื่องวัดรังสี ถ้าความหนาของแผ่นโลหะที่รีดแล้วผิดไปจากความหนาที่ตั้งไว้ เครื่องวัดรังสีจะส่งสัญญาณไปควบคุมความหนา โดยสั่งให้มอเตอร์กดหรือผ่อนลูกกลิ้ง เพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตถังแก๊ส อุสสาหกรรมก่อสร้าง การเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันหรือแก๊สจำเป็นต้องตรวจสอบความเรียบร้อยในการเชื่อต่อโลหะ เพื่อต้องการดูว่าการเชื่อมต่อนั้นเหนียวแน่นดีหรือไม่ วิธีการตรวจสอบทำได้โดยใช้รังสีแกมมายิงผ่านบริเวณการเชื่อมต่อ ซึ่งอีกด้านหนึ่งจะมีฟิล์มมารับรังสีแกมมาที่ทะลุผ่านออกมา ภาพการเชื่อมต่อที่ปรากฎบนฟิล์ม จะสามารถบอกได้ว่าการเชื่อมต่อนั้นเรียบร้อยหรือไม่โทษของธาตุกัมมันตรังสีเนื่องจากรังสีสามารถทำให้ตัวกลางที่มันเคลื่อนที่ผ่านเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ รังสีจึงมีอันตรายต่อมนุษย์ ผลของรังสีต่อมนุษย์สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ ผลทางพันธุกรรมและความป่วยไข้จากรังสี ผลทางพันธุกรรมจากรังสีจะมีผลทำให้การสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกายมนุษย์เกิดการกลายพันธุ์ โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์ ส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี เนื่องจากเมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอากาป่วยไข้ได้
หลักในการป้องกันอันตรายจากรังสีมีดังนี้
- ใช้เวลาเข้าใกล้บริเวณที่มีกัมมันตภาพรังสีให้น้อยที่สุด
- พยายามอยู่ให้ห่างจากกัมมันตภาพรังสีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ใช้ตะกั่ว คอนกรีต น้ำ หรือพาราฟิน เป็นเครื่องกำบังบริเวณที่มีการแผ่รังสี

ปฏิกิริยานิวเคลียร์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม แล้วได้นิวเคลียสของธาตุใหม่เกิดขึ้น และให้พลังงานจำนวนมหาศาล ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา นิวตรอนที่เกิดขึ้น 2-3 ตัวซึ่งมีพลังงานสูงจะวิ่งไปชนนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องไปเป็นลูกโซ่ ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งทำให้ได้พลังงานมหาศาลปฏิกิริยาลูกโซ่นี้ถ้าไม่มีการควบคุม จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรง นักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณู ซึ่งสามารถควบคุมการเกิดปฏิกิริยาได้โดยการควบคุมปริมาณนิวตรอนที่เกิดขึ้นไม่ให้มากเกินไป และหน่วงการเคลื่อนที่ของนิวตรอนให้ช้าลง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้นำปฏิกิริยาฟิชชันแบบควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่มาใช้ประโยชน์ในทางสันติ เช่น ใช้ในการผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสีสำหรับใช้ในการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม ส่วนพลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยาฟิชชันที่ถูกควบคุมสามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
http://www.youtube.com/watch?v=G1jtWR_tcX4
http://www.youtube.com/watch?v=03GXR_COzAw
http://www.youtube.com/watch?v=spV5yC1BtQg

2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ออกมา (พลังงานเกิดขึ้นจากมวลส่วนหนึ่งหายไป) พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันมีค่ามากกว่าพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เมื่อเปรียบเทียบจากมวลส่วนที่เข้าทำปฏิกิริยา ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันในนาม ลูกระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) เชื่อกันว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันคือ นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4 ตัวหลอมรวมกันได้นิวเคลียสของฮีเลียม อนุภาคโพสิตรอน มีมวลส่วนหนึ่งหายไป มวลส่วนที่หายไปเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจำนวนมหาศาลปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันจะเกิดขึ้นได้ก็จะต้องใช้ความร้อนเริ่มต้นสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสที่จะเข้ารวมตัวกัน เช่น ระเบิดไฮโดรเจนจะต้องใช้ความร้อนจากระเบิดปรมาณูเป็นตัวจุดชนวน
http://www.youtube.com/watch?v=uOxuGzYXHSQ
http://www.youtube.com/watch?v=sSi-zSeS0_Y

fissionและ fusion
http://www.youtube.com/watch?v=yTkojROg-t8

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (Half life) หมายถึง ระยะเวลาที่ปริมาณของสารกัมมันตรังสีสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเริ่มต้น เช่น S-35 มีครึ่งชีวิต 87 วัน ถ้ามี S-35 อยู่ 8 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 4 กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 87 วัน จะเหลือ 2 กรัม ถ้าเริ่มต้นจาก 1 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.5 กรัม และเมื่อผ่านไป 87 วัน จะเหลืออยู่ 0.25 กรัม C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี ถ้ามี C-14 อยู่ 5 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 5730 ปี จะเหลืออยู่ 2.5 กรัม และเมื่อผ่านไปอีก 5730 ปี จะเหลือ 1.25 กรัม เป็นต้น ครึ่งชีวิตเป็นสมบัติเฉพาะตัวของแต่ละไอโซโทป และสามารถใช้เปรียบเทียบอัตราการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดได้

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ฟังเพลงคลายเครียด

ฟังเพลงนิดหนึ่งแล้วค่อยเรียนต่อนะ

http://www.youtube.com/watch?v=Sk3RoTDhf5k
http://www.youtube.com/watch?v=9OWvcpSBqg4
http://www.youtube.com/watch?v=qFjP-OJ7Bh4

ชนิดของรังสี

รังสีแอลฟา เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม มีโปรตอนและนิวตรอนอย่างละ 2 อนุภาค มีประจุไฟฟ้า +2 มีเลขมวล 4 มีอำนาจทะทะลวงต่ำมาก กระดาษเพียงแผ่นเดียวหรือสองแผ่นก็สามารถกั้นได้ ในสนามไฟฟ้ารังสีแอลฟาเบนเข้าหาขั้วลบ สามารถวิ่งผ่านอากาศได้ระยะทางเพียง 3-5 cm เพราะเมื่อรังสีแอลฟาผ่านสาร สามารถทำให้สารเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ดี จึงทำให้เสียพลังงานอย่างรวดเร็ว
รังสีบีตา คือ อนุภาคที่มีสมบัติเหมือนอิเล็กตรอน กล่าวคือ มีประจุไฟฟ้า -1 มีมวลเท่ากับมวลของอิเล็กตรอน มีพลังงานสูง ในสนามไฟฟ้ารังสีบีตาเบนเข้าหาขั้วบวก มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ 100 เท่า สามารถผ่านแผ่นโลหะบางๆ เช่น แผ่นตะกั่วหนา 1 mm แผ่นอะลูมิเนียมหนา 5 mm มีความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง และมีอำนาจในการไอออไนซ์น้อยกว่ารังสีแอลฟา
รังสีแกมมา คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก ไม่มีประจุและไม่มีมวล ไม่เบียงเบนในสนามไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงสุด สามารถทะลุผ่านแผ่นไม้โลหะและเนื้อเยื่อได ้แต่ถูกกั้นได้โดยคอนกรีตหรือแผ่นตะกั่วหนา โดยสามารถทะลุผ่านแผ่นตะกั่วหนา 8 mm หรือผ่านแผ่นคอนกรีตหนาๆ ได้ มีอำนาจในการไอออไนซ์น้อยมาก
สรุปสมบัติของรังสีทั้งสามได้ดังนี้ความสามารถในการทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนรังสีแอลฟา บีตา และแกมมา เป็นรังสีที่มีสมบัติทำให้สารหรือตัวกลางที่มันเคลื่อนที่ผ่านแตกตัวเป็นไอออนได้
สมมติรังสีบีตาซึ่งเป็นอนุภาคมีประจุลบเคลื่อนที่เข้าไปในสารชนิดหนึ่ง มันมีโอกาศที่จะเคลื่อนที่เข้าไปชนอะตอมของสาร เนื่องจากรังสีบีตามีพลังงานสูงมาก จึงสามารถชนอิเล็กตรอนของอะตอมของสารให้หลุดออกมาเป็นอิเล็กตรอนอิสระ ขณะเดียวกันอะตอมตัวที่ถูกชนซึ่งเสียอิเล็กตรอนไปก็จะแสดงภาวะประจุบวก เรียกว่า ไอออนบวก ทั้งหมดนี้คือกระบวนการที่รังสีทำให้สารหรือตัวกลางแตกตัวเป็นไอออนเมื่อปล่อยให้รังสีแอลฟา บีตา และแกมมา เคลื่อนที่ผ่านไปในสาร เช่น ในอากาศ พบว่ารังสีแอลฟาเคลื่อนที่ได้ระยะทางน้อยที่สุด และรังสีแกมมาสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุดแสดงว่ารังสีแอลฟาสามารถทำให้ตัวกลางที่มันเคลื่อนที่ผ่านไปแตกตัวเป็นไอออนได้ดีที่สุด จึงสูญเสียพลังงานให้ตัวกลางอย่างรวดเร็ว ทำให้เคลื่อนที่ผ่านไปในตัวกลางได้ไม่มากนัก ส่วนรังสีบีตาและแกมมา มีความสามารถทำให้ตัวกลางแตกตัวเป็นไอออนได้ดีรองลงมาตามลำดับ
อำนาจทะลุผ่านจากที่ได้พิจารณามาแล้วในเรื่องความสามารถในการทำให้เกิดการแตกตัว เราทราบว่ารังสีแอลฟาทำให้ตัวกลางที่มันเคลื่อนที่ผ่านแตกตัวเป็นไอออนได้มากที่สุด รองลงมาคือรังสีบีตาและแกมมาตามลำดับ เมื่อทดลองให้รังสีทั้งสามชนิดเคลื่อนที่ผ่านไปในตัวกลางต่างๆ เช่น กระดาษ อะลูมิเนียม ตะกั่ว เป็นต้น จะเห็นว่ารังสีแอลฟาไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นกระดาษ ส่วนรังสีบีตาสามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นกระดาษได้ แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นอะลูมิเนียม สำหรับรังสีแกมมาสามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษและแผ่นอะลูมิเนียมได้ แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นตะกั่ว แสดงว่ารังสีแกมมามีอำนาจทะลุผ่านสูงที่สุด รองลงมาคือรังสีบีตาและแอลฟาตามลำดับ
ธาตุกัมมันตรังสีอยู่ในแผ่นตะกั่ว ซึ่งมีรูปเปิดให้รังสีที่เกิดจากธาตุยูเรเนียมเคลื่อนที่ออกมาได้ บริเวณด้านนอกของแผ่นตะกั่วตรงปากรูของแผ่นตะกั่วมีสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ สมมติว่ามีรังสีสามชนิดถูกปล่อยออกมาจากธาตุยูเรเนียม และเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก จะพบว่า- รังสีแอลฟา เคลื่อนที่โค้งลงมาเล็กน้อย- รังสีบีตา เคลื่อนที่โค้งขึ้นไปเล็กน้อย- รังสีแกมมา เคลื่อนที่ตรงออกไปโดยไม่มีการเบี่ยงเบนจากลักษณธการตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กของรังสีทั้งสามชนิด จึงสรุปได้ว่า- รังสีแอลฟา เป็นอนุภาคขนาดเล็ก มีประจุบวก- รังสีบีตา เป็นอนุภาคขนาดเล็ก มีประจุลบ และมีมวลน้อยกว่าแอลฟา- รังสีแกมมา เป็นคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าไม่มีประจุ
สรุป
http://www.youtube.com/watch?v=Lg9coTz43K0
รังสีแอลฟา เปิดดูนะ
http://www.youtube.com/watch?v=f5WpHyO1ek8


ธาตุกัมมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังสีการค้นพบ ในปี ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) อองตวน อองรี เบ็กเคอเรล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสพบว่า เมื่อเก็บแผ่นฟิล์มถ่ายรูปที่หุ้มด้วยกระดาษสีดำไว้กับสารประกอบของยูเรเนียม ฟิล์มจะมีลักษณะเหมือนถูกแสง และเมื่อทำการทดลองกับสารประกอบของยูเรเนียมชนิดอื่นๆ ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีรังสีแผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาให้เหตุผลกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่า จะต้องมีรังสีที่มีพลังงานสูงบางอย่างปล่อยออกมาจากเกลือยูเรเนียมนี้ เมื่อไปกระทบกับฟิล์มทำให้ฟิล์มกลายเป็นสีดำเหมือนถูกแสง เขาให้เหตุผลกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่า จะต้องมีรังสีที่มีพลังงานสูงบางอย่างปล่อยออกมาจากเกลือยูเรเนียมนี้ เมื่อไปกระทบกับฟิล์มทำให้ฟิล์มกลายเป็นสีดำ และต่อมาเขายังพบว่าอัตราการปล่อยรังสีของเกลือนี้แปรผันตรงกับปริมาณของเกลือ
ต่อมาปีแอร์ และมารี กูรี ได้ค้นพบว่าธาตุยูพอโลเนียม เรเดียม และทอเรียม ก็สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี คือธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสี
กัมภาพรังสี คือปรากฎการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้อย่างต่อเนื่อง
ในเวลาต่อมาพบว่า รังสีที่พบโดยแบ็กเคอเรลเป็นคนละชนิดกับรังสีเอกซ์ รังสีดังกล่าวเป็นรังสีที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของธาตุ เมื่อนิวเคลียสของธาตุนั้นอยู่ในสภาวะไม่เสถียร สภาวะไม่เสถียรเกิดจากส่วนประกอบภายในของนิวเคลียสไม่เหมาะสม หมายความว่า ในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ลองเปิดดูซิ
http://www.youtube.com/watch?v=hU3UQDb64bg

โลหะแทรนซิชัน

โลหะแทรนซิชันอยู่ที่ไหน

http://www.saburchill.com/chemistry/visual/tutorial/005.html

จากตารางธาตุ บริเวณที่มีสีม่วงไงล่ะ

ธาตุแทรนซิชัน หมายถึงธาตุที่อะตอมหรือไอออนมีอิเล็กตรอนไม่เต็มในระดับพลังงานย่อย (d – orbital หรือ f – orbital)

ได้แก่ธาตุที่อยู่ตรงกลางและด้านล่างของตารางธาตุ ธาตุแทรนซิชันยังแบ่งเป็นหมู่ต่าง ๆ เริ่มด้วยหมู่ IIIB,IVB,... VIIIB และ IB ธาตุหมู่ VIIIB รวมทั้งกลุ่มแลนทาไนด์กับกลุ่มแอกทิไนด์ ซึ่งอยู่ระหว่างธาตุหมู่ IIA และหมู่ IIIA ธาตุแทรนซิชันเหล่านี้มีอยู่ทั้งในธรรมชาติและได้จากการสังเคราะห์ บางธาตุเป็นธาตุกัมมันตรังสี

ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง ซึ่งทุกธาตุต่างเป็นพวกโลหะ แต่มีความแตกต่างจากโลหะหมู่ IA และหมู่ IIA หลายประการดังนี้

1. ธาตุแทรนซิชัน เป็นโลหะซึ่งส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูง

2. เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4เท่ากับ2 ยกเว้นโครเมียม กับทองแดง ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1

3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามานับจากระดับพลังงานของเวเลนซ์อิเล็กตรอน ส่วนใหญ่มีจำนวนไม่เท่ากัน ส่วนของธาตุหมู่ IA และหมู่ IIA ในคาบเดียวกันมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามาเท่ากับ 8

4. รัศมีอะตอมมีขนาดใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นตามคาบ

5. ความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามคาบ

6. ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันตามคาบมากกว่าธาตุอื่นๆ ในตารางธาตุ

7. โลหะแทรนซิชันเป็นตัวนำไฟฟ้าและนำความร้อนที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุในหมู่ IB คือ ทองแดง เงิน และทอง
8. รัศมีอะตอมของธาตุแทรนซิชันโดยทั่วไปมีขนาดลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น แต่รัศมีอะตอมของธาตุต่างๆ จากโครเมียม (Cr) ถึงทองแดง (Cu) มีขนาดใกล้เคียงกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากแม้ว่าธาตุในแถวเดียวกันจะมีประจุในนิวเคลียสเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้หมอกอิเล็กตรอนเล็กลงก็ตาม แต่อิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยมีจำนวนมากขึ้นและมีแรงต้านกับการหดขนาดของหมอกอิเล็กตรอน จึงทำให้ขนาดอะตอมของธาตุแทรนซิชันไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก และจะลดลงอย่างช้า ๆ เท่านั้น
9. พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 ที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่สม่ำเสมอเป็นผลจากการต้านกันระหว่างประจุของนิวเคลียสที่เพิ่มขึ้น กับการเพิ่มอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
10. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า ยกเว้น IIIB และหมู่ IIB ซึ่งเกิดสารประกอบที่มีเลขออกซิเดชัน +3 และ +2 ตามลำดับ ส่วนธาตุแทรนซิชันอื่น ๆ สามารถแสดงเลขออกซิเดชันร่วมกันเป็นอย่างน้อย
11. สารประกอบส่วนมากของธาตุแทรนซิชันมีสี (ยกเว้นหมู่ IIIB)
12. มีแนวโน้มเกิดสารประกอบเชิงซ้อน (Complex compounds) ได้ง่ายกว่าธาตุหมู่ IA และหมู่ IIA

โดยทั่วไปธาตุในตารางธาตุแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. ธาตุหมู่หลัก (main group)

2. ธาตุแทรนซิชัน (transition metal)

3. กลุ่มแลนทาไนด์ (lanthanide)

4. กลุ่มแอกทิไนด์ (actinides)

ธาตุแทรนซิชั่นส่วนใหญ่มี ละลายน้ำได้สารละลายมีสีดังรูป

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/57/Coloured-transition-metal-solutions.jpg

ที่เหลืออยากศึกษาเพิ่มเติมลองเปิดเวปนี้ซิ

http://202.129.15.68/e-learn/start_trans_prop1.html






hydrogen

ครูวิทย์ลำปางกัลยาณี

มือใหม่หัดทำ ลองเปิดดูนะ วันหลังค่อยดูเวอร์ชั่นใหม่ๆ

http://www.youtube.com/watch?v=CTaQlLR-rVc

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธาตุไฮโดรเจน และ ธาตุกึ่งโลหะ

ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ

ธาตุไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายคลึงกับธาตุหมู่ IA และ ธาตุหมู่ VII A จึงไม่จัดธาตุไฮโดรเจนเข้ากับหมู่ IA หรือหมู่ VIIA
สมบัติของธาตุไฮโดรเจนมีดังนี้
1. มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 เหมือน หมู่ I A แต่ขาดอีก 1 จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนก๊าซเฉื่อย
2. ในสารประกอบทั่วไปมีเลขออกซิเดชันเป็น +1 เหมือนกับหมู่ I A แต่มีเลขออกซิเดชันเป็น –1 ในสารประกอบไฮไดรด์ เช่น LiH ทำให้ไฮโดรเจนมีเลขออกซิเดชันหลายค่าคล้าย หมู่ VIIA
3. ไฮโดรเจนมีสถานะเป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้าเหมือนกับ หมู่ VII A
4. ไฮโดรเจนมีค่า IE1 และ EN สูงเหมือนกับธาตุหมู่ VIIA
ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ

โบรอน (B - Boron) ซิลิคอน (Si - Silicon) เจอร์เมเนียม (Ge - Germanium) สารหนู (As - Arsenic หรือ อาร์เซนิก) พลวง (Sb - Antimony หรือ แอนติโมนี) เทลูเรียม (Te - Tellurium) และแอสทาทีน (As - Astatine) จัดเป็นธาตุกึ่งโลหะเพราะมีสมบัติบางประการเหมือนอโลหะ ซิลิคอนและเจอร์เมเนียมใช้ทำส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นธาตุกึ่งตัวนำ ซึ่งหมายความว่า มันจะสามารถนำไฟฟ้าได้เฉพาะในภาวะหนึ่งเท่านั้น ธาตุกึ่งโลหะเหล่านี้จะอยู่บริเวณเส้นขั้นบันได (ซึ่งทางซ้ายของเส้นขั้นบันไดจะเป็นโลหะ ส่วนทางขวาของเส้นบันไดจะเป็นอโลหะ)
*หมายเหตุ แอสทาทีน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่าเป็นกึ่งโลหะ บางแหล่งข้อมูลก็กล่าวว่าเป็นอโลหะ

กึ่งโลหะ ( Metalloid ) : ธาตุที่มีสมบัติอยู่ระหว่างโลหะและอโลหะ ในตารางธาตุจะพบในแนวทแยงเป็นแนวเส้นบันไดระหว่างโลหะและอโลหะ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ดูglitter สวยๆสลับแล้วคอยอ่านต่อ

รักแม่จัง
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
สู้ สู้ สู้
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
ใกล้สอบแล้วดูแลสุขภาพด้วยนะ
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

halogen

ลองอ่านและเปิดดูซิ
สมบัติของหมู่ธาตุแฮโลเจน
- หมู่ธาตุแฮโลเจน ได้แก่ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน และแอสทาทีน
- เป็นธาตุหมู่ VII A ในตารางธาตุ
- เป็นธาตุที่มีพิษทุกธาตุและมีกลิ่นแรง
- โมเลกุลของธาตุแฮโลเจนประกอบด้วย 2 อะตอม (Cl2, Br2, I2)
- ทำปฏิกิริยากับโลหะได้เกลือ เช่น NaCl LiF
- แฮโลเจนไอออนมีประจุบลบหนึ่ง (F-, Cl-, Br-, I-, At-)
ธาตุหมู่ 7 (เฮโลเจน)
1. เป็นธาตุหมู่เดียวที่ 1 โมเลกุล มี 2อะตอม เรียกว่า Diatomic Molecule
2. จากความสามารถในการออกซิไดส์ในธาตุหมู่ 7 ทำให้สามารถเตรียมก๊าซหมู่ 7 โดยอาศัยสมบัติได้
3. พบเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ และพบในรูปของสารประกอบไอออนิกและโคเวนเลนต์
4. สารประกอบของหมู่ 7 ส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี
สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของธาตุหมู่ VIIA ได้ดังนี้
1. เป็นพวกอโลหะ มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 สภาวะปกติ F2 และ Cl2 เป็นก๊าซสีเหลืองอ่อนและเขียวอ่อนตามลำดับ Br2 เป็นของเหลวสีน้ำตาลแดง และ I2 เป็นของแข็งสีม่วง ซึ่งสีของธาตุแฮโลเจนจะเข้มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ทุกตัวเป็นสารพิษ
2. ความเป็นอโลหะจะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น หรือความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
3. ธาตุแฮโลเจนทุกตัวอยู่ในสภาพโมเลกุลอะตอมคู่ (diatomic molecule) ทุกสถานะทั้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซ โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
4. ไม่นำความร้อนและไฟฟ้าเพราะเป็นอโลหะ
5. อะตอมมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
6. ธาตุหมู่ VIIA ละลายในน้ำได้เล็กน้อยและให้สีต่างๆ กัน เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ใน CCl4
Cl2 ใน CCl4 ไม่มีสี
Br2 ใน CCl4 สีส้ม
I2 ใน CCl4 สีม่วง
ซึ่งในตัวทำละลายดังกล่าวนี้ธาตุหมู่ VIIA ทุกชนิดจะอยู่ในรูปของโมเลกุลอิสระเหมือนกับในสภาวะเป็นก๊าซ
ในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น H2O, C2H5OH , CH3COCH3 , ทั้ง Br2 และ I2 จะมีสีน้ำตาลแดง เนื่องจากเกิดสารประกอบเชิงซ้อนขึ้น
7. ความหนาแน่นน้อย แต่ความหนาแน่นจะเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
8. มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอต่ำ เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (คือแรงวันเดอร์วาลส์) น้อย แต่จุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะมีแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การระเหยของธาตุหมู่ VIIA จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น
9. มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด ในคาบเดียวกัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
10. มี IE1 ค่อนข้างสูง และค่า IE1 จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เนื่องจากขนาดใหญ่ขึ้น
11. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เนื่องจากมี 7 เวเลนต์อิเล็กตรอน ซึ่งสามารถจะให้หรือรับอิเล็กตรอนจากธาตุอื่น หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกับธาตุอื่นๆ ซึ่งมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างๆ กันได้ ทำให้มีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น ตัวอย่างของธาตุ Cl มีเลขออกซิเดชันตั้วแต่ -1 ถึง +7
12. เกิดสารประกอบได้หลายชนิด เช่น NaCl CaF2 HF KI และยังเกิดสารประกอบที่มีธาตุองค์ประกอบชนิดเดียวกันได้หลายชนิด เพราะมีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น NaClO NaClO2 NaClO3 NaClO4 Cl2O ClO2 ClO3 และ Cl2O7 เป็นต้น
13. ธาตุที่อยู่ตอนบนของหมู่ สามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนล่างได้ แต่ธาตุอยู่ตอนล่างจะไม่ทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนบน จึงสรุปได้ว่า “ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA จะลดลงจากบนลงล่าง” เช่น
F2 ทำปฏิกิริยากับ NaCl ได้ แต่ Cl2 ไม่ทำปฏิกิริยากับ NaF
F2 + 2NaCl → 2NaF + Cl2
Cl2 + NaF → ไม่เกิดปฏิกิริยา
ธาตุอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน
Cl2 + 2NaBr → 2NaCl + Br2
Br2 + NaCl → ไม่เกิดปฏิกิริยา
14. การเตรียมธาตุแฮโลเจนบางธาตุทำได้ดังนี้
2KMnO4 + 16HCl (conc) → KCl + 2MnCl2 + 8H2O + 5Cl2
MnO2 + 4HCl (conc) → MnCl2 + 2H2O + Cl2
2NaBr + MnO2 + 3H2SO4 (conc) → 2NaHSO4 + MnSO4 + 2H2O + Br2
15. ปฏิกิริยาที่สำคัญของสารประกอบแฮไลด์ เมื่อเติมสาร
F- (aq), Cl- (aq), Br- (aq) , I- (aq) กับ Pb(NO3)2 หรือ AgNO3 (aq)
ปฏิกิริยากับสารละลาย AgNO3 และ NH3 หรือแสงสว่าง จัดได้ว่าเป็นวิธีการทดสอบแฮไลด์ไอออน
F- (aq) ไม่ให้ตะกอนกับ AgNO3 (aq)
Cl- (aq) ให้ตะกอนขาว AgCl ซึ่งเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อถูกแสงและละลายได้ใน NH3 (aq)
Br- (aq) ให้ตะกอนเหลืองอ่อน AgBr ซึ่งเปลี่ยนเป็นสีเขียว-เหลือง เมื่อถูกแสงและละลายได้ ใน NH3 เข้มข้น
I- (aq) ให้ตะกอนเหลือง AgI ซึ่งไม่เปลี่ยนสีเมื่อถูกแสงและไม่ละลายใน NH3
การละลายได้ใน NH3 (aq) เพราะเกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่ละลายได้
AgCl (s) + 2NH3 (aq) → [Ag(NH3)2]+ (aq) + Cl- (aq)

ลองเปิดดูซิ


เป็นไงเปิดต่อไปซิ


alkali earth metal

alkali earth metal เป็นยังไงลองอ่านดูซิ
สมบัติของโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ ได้แก่ เบริลเลียม แมกนีเซียม แคลเซียม สตรอนเชียม แบเรียม เรเดียม
- เป็นธาตุหมู่ II A ของตารางธาตุ
- ทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารละลายเบส สารประกอบของโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธพบมากในธรรมชาติ
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธมีความว่องไวแต่ยังน้อยกว่าโลหะอัลคาไล
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 2
ธาตุหมู่ 2 (โลหะแอลคาไลน์เอิร์น)
1. ทำปฏิกิริยากับน้ำ ได้ด่างและก๊าซไฮโดรเจน
2. ทำปฏิกิริยาได้ดี จึงไม่พบโลหะหมู่ 2 ในธรรมชาติ และพบในรูปสารประกอบ โดยสารประกอบส่วนใหญ่ เป็นพันธะไอออนิก
3. สารประกอบส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี
สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของธาตุหมู่ IIA ได้ดังนี้
1. เป็นธาตุที่มี 2 เวเลนต์อิเล็กตรอน เมื่อเป็นไอออนจึงมีประจุเป็น +2
2. เป็นธาตุที่จัดอยู่ในกลุ่มของโลหะ ความเป็นโลหะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
3. เป็นโลหะที่นำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี เพราะมีพันธะโลหะ
4. มีความหนาแน่นมากกว่าโลหะหมู่ IA ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงมากกว่าโลหะหมู่ IA และความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
5. รัศมีอะตอมเล็กกว่าหมู่ IA และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
6. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีค่าค่อนข้างสูง แต่มีแนวโน้มที่ลดลงเมื่อมวลอะตอมเพิ่มขึ้น
7. IE1 มีค่าค่อนข้างน้อย (แต่มากกว่าหมู่ IA ในคาบเดียวกัน) และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
8. อิเล็กโทนเนกาติวิตีมีค่าน้อย และมีค่าลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
9. เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดี ค่า E0 มีค่าลดลงตามลำดับเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น แสดงว่าความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์จะเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
10. ทำปฏิกิริยากับน้ำได้ก๊าซ H2 และสารละลายแสดงสมบัติเป็นเบส แต่ปฏิกิริยาไม่รุนแรงเหมือนกับธาตุหมู่ IA เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น การทำปฏิกิริยากับน้ำจะเกิดได้เร็วขึ้น
เขียนสมการทั่วๆ ไปได้ดังนี้
M + 2H2O →M(OH)2 + H2
เช่น
Mg + 2H2O → Mg(OH)2 + H2
Ca + 2H2O → Ca(OH)2 + H2
11. เกิดเป็นสารประกอบต่างๆ ได้เช่น คลอไรด์ ออกไซด์ ซัลไฟด์ ซัลเฟต เป็นต้น โดยมีสูตรและสมบัติต่างๆ คล้ายๆ กัน
12. สารประกอบของหมู่ IIA ส่วนมากเป็นสารประกอบไอออนิก (ยกเว้นสารประกอบของธาตุ Be เช่น BeCl2 , BeSO4 เป็นสารประกอบโคเวเลนต์ ) ดังนั้นส่วนมากจึงละลายน้ำได้ เช่นเกลือไนเตรต เกลือคลอไรด์ ละลายน้ำได้ แต่เกลือคาร์บอนเนต เกลือซัลเฟต (ยกเว้น MgSO4) และเกลือฟอสเฟต ละลายน้ำได้น้อยมาก
13. เมื่อเผาสารประกอบของธาตุหมู่ IIA จะให้เปลวไฟสีต่างๆ กัน เช่น
สารประกอบของ
ตัวอย่าง
สีของเปลวไฟCa CaCO3 CaCl2 แดงเข้ม
Sr SrCO3 SrSO4 แดงเลือดนก
Ba BaCO3 BaSO4เขียว

alkalimetal

alkalimetalเป็นอย่างไรลองอ่านซิ
สมบัติของโลหะอัลคาไล
- โลหะอัลคาไล ได้แก่ ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม และแฟรนเซียม
- โลหะอัลคาไลจัดเป็นธาตุหมู่ I A ของตารางธาตุ
- เป็นโลหะอ่อน ใช้มีดตัดได้
- ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จึงต้องเก็บไว้ในน้ำมัน
- ออกไซด์และไฮดรอกไซด์ของโลหะอัลคาไล ละลายน้ำได้สารละลายเบสแก่
- เมื่อเป็นไอออน จะมีประจุบวก
- โลหะอัลคาไลทำปฏิกิริยากับอโลหะบางชนิดได้ผลึกเกลือสีขาว ละลายน้ำได้
- มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ มีความหนาแน่นต่ำเมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 1
ปฏิกิริยาธาตุหมู่ 1 (โลหะแอลคาไลน์)
1. ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ ได้ด่างและก๊าซไฮโดรเจน
2. ทำปฏิกิริยาได้ดีมาก จึงไม่พบโลหะหมู่ 1 ในธรรมชาติ แต่จะพบสารเหล่านี้ในสารประกอบโดยสารประกอบทุกตัวเป็นพันธะไอออนิก
3. สารประกอบทุกตัวละลายน้ำได้ทุกตัว
4. ความหนาแน่นต่ำ ลอยน้ำได้ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ไม่สูงนัก
สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของธาตุหมู่ IA ได้ดังนี้
1. เป็นธาตุที่มี 1 เวเลนต์อิเล็กตรอน
2. เป็นของแข็ง ยกเว้น Cs เป็นของเหลว แต่จัดว่าเป็นประเภทโลหะอ่อน สามารถตัดด้วยมีดได้ง่าย ทำให้เป็นชิ้น แผ่น หรือดึงเป็นเส้นลวดได้ง่าย
3. เป็นโลหะที่นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก เพราะมีพันธะโลหะ
4. ความเป็นโลหะเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
5. ทำปฏิกิริยากับน้ำ เกิดปฏิกิริยารุนแรง คายความร้อนมาก และติดไฟได้ได้สารละลายที่แสดงสมบัติเป็นเบส จึงเรียกว่า โลหะแอลคาไล
เขียนสมการทั่วๆ ไป สำหรับแสดงปฏิกิริยากับน้ำได้ดังนี้
2M + 2H2O → 2MOH + H2
เช่น
2Na + 2H2O → 2NaOH + H2
2Li + 2H2O → 2LiOH + H2
เนื่องจากเกิดปฏิกิริยากับน้ำได้ง่าย และยังสามารถทำปฏิกิริยากับ O2 ได้ด้วย ดังนั้นจึงต้องเก็บโลหะแอลคาไลในน้ำมัน
6. เป็นธาตุที่ชอบให้อิเล็กตรอนแก่ธาตุอื่นๆ เรียกว่า electropositive element แล้วกลายเป็นไอออนที่ประจุ +1
7. รัศมีอะตอมและรัศมีไอออนเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
8. มีค่า IE1 น้อยที่สุด ในคาบเดียวกัน และค่า IE1 จะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น
9. มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อย เมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ ในคาบเดียวกัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
10. เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าโลหะอื่นๆ ในคาบเดียวกัน นอกจากนี้จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะความแรงของพันธะโลหะลดลง
11. เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีมาก โดยเฉพาะ Li เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีที่สุด
12. ความหนาแน่นน้อยกว่าโลหะอื่นๆ ที่อยู่ในคาบเดียวกัน แต่ความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
13. ทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ เกิดเป็นสารประกอบได้ง่าย และเป็นสารประกอบไอออนิก สารประกอบคลอไรด์ คาร์บอเนต ซัลเฟต ไนเตรต ฟอสเฟต โดยมีจุดหลอมเหลวสูงมาก
14. สารประกอบของธาตุหมู่ IA ละลายน้ำได้ดีมาก ดังแสดงในตารางที่ 7.35
15. เมื่อเผาสารประกอบของหมู่ IA จะได้เปลวไฟที่มีสีต่างๆ กัน เช่น Li มีสีแดงสด หรือแดงเลือดนก Na ให้สีเหลือง K ให้สีม่วงน้ำเงิน เป็นต้น
ด่างคือ Alkali
ที่ Li Na K Rb Cs เป็น alkali metal เพราะทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง(Alkali) ต่างหาก
เช่น โลหะโซเดียม
2Na(s)+2H2O(l)--------->2NaOH(aq)+H2(g)
ด่างทุกตัวไม่ใช่เบสทั้งหมด
แต่เบสทุกตัวเป็นด่าง
ดังนั้นไม่สามารถแทนคำว่าเบสด้วยด่างได้
ปล.Alkali Earth คือธาตุหมู่ IIA ได้แก่ Be Mg Ca Sr
ทำปฏิกิริยากับน้ำได้ด่างเช่นเดียวกัน แต่พบในผิวโลกมากเลยเรียงว่าอัลคาไลเอิร์ธ
ดังสมการ
Mg(s)+2H2O(l)-------->Mg(OH)2+H2(g)
เบส
อาร์เรเนียส(Arrhenius)
เบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH-
ตัวอย่าง สมการที่เป็นไปตามทฤษฎีของ อาร์เรเนียส
1.HCl(aq)+H2O(l)----- > H3O+(aq) + Cl-(aq)
2.LiOH(s)----- > Li+ (aq) + OH- (aq)
เบรินสเตต-ลาวรี(Bronsted-Lowry)
เบส คือ สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น

ปฏิกิริยาของหมู่1A กับน้ำ

ลองเปิดดูซิ จำด้วยนะ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ 2A + 2H2O --- > 2AOH + H2
ถ้า A คือโลหะหมู่1A

Alkali Metals (Explosive!!!) - The top video clips of the week are here

ลองดูอีกอันไหม

ตื่นเต้นไหม ตอบด่วน ครูสุ

แด่ครูด้วยดวงใจ

รักครู ห่วงครู ตั้งใจเรียนนะ ขอให้ประสบความสำเร็จนะ


รักแม่ไหม ลองฟังเพลงเพื่อแม่ซิ

รักแม่ห่วงแม่ ต้องขยันเรียนนะ


สมบัติของธาตุในตารางธาตุ

สมบัติของธาตุในตารางธาตุ มีอะไรบ้างลองเปิดดูซิ
http://tanticyber.tanti.ac.th/File_moodle/periodic/movie1.swf

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมบัติสารประกอบของธาตุตามคาบ

สมบัติของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุคาบ2และ3

http://tanticyber.tanti.ac.th/File_moodle/periodic/movie2.swf

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมบัติของธาตุ ลองอ่านซิ

แร่ธาตุชื่อ WOMAN

ชื่อธาตุ : WOMAN สัญลักษณ์ Wo ผู้ค้นพบ Man
มวลอะตอม : มาตรฐาน 50 กก.แต่อาจแปรเปลี่ยนได้จาก 40-80 กก.
ลักษณะทั่วไป : คล้ายกันหมดหากอยู่ในเขตเมือง

คุณสมบัติฟิสิกส์
1. พื้นผิวส่วนใหญ่เคลือบด้วยสารหอมระเหย และน้ำมันบำรุงผิว
2. เดือดที่อุณหภูมิต่างๆ เอาแน่ไม่ได้
3. ถึงจุดเยือกแข็งทันทีทันใดโดยไม่รู้สาเหตุ
และอาจอยู่ที่จุดเยือกแข็งได้เป็นอาทิตย์
4. หลอมละลายหากได้รับการเอาอกเอาใจถูกวิธี
5. มีรสเผ็ดและขมถ้าใช้ผิดวิธี
6. แปรเปลี่ยนได้หลายสถานะตั้งแต่แข็งเป็นหิน จนถึงอ่อนปวกเปียกเป็นขี้ผึ้งลนไฟ
7. ไม่ทนต่อการเสียดสี กระแทกกระทั้น

คุณสมบัติทางเคมี
1. บ้างมีฤทธิ์เป็นกรด บ้างหวานกว่าน้ำตาล บ้างเปรี้ยวอมหวาน
2. ทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับเพชร พลอย ทอง ทับทิม ดอกไม้
และสิ่งสวยงามทุกชนิด ฯลฯ
3. ดูดซึมข้อมูลข่าวสารรอบตัวได้มากมายมหาศาล
4. อาจจะระเบิดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
5. มีคุณสมบัติละลายเงินในกระเป๋าเมื่อเดินผ่านห้างสรรพสินค้า
6. เข้ากันเป็นเนื้อเดียว (Compatible) กับผลไม้รสเปรี้ยว ผักสลัด
และไม่เข้ากับไขมันทุกประเภท

การทดสอบ
1. วัตถุตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มเมื่อถูกสัมผัส
2. วัตถุตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อวางถัดจากตัวอย่างที่สวยกว่า
3. วัตถุตัวอย่างจะส่งเสียงไม่หยุดเมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ประโยชน์
1. แบกโลกไว้ครึ่งหนึ่ง
2. ดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์
3. ทำให้โลกสดใส
4. สร้างความอ่อนโยนให้เกิดในสังคมมนุษย์

ข้อควรระวัง
1. สัมผัสด้วยความประณีตและให้เกียรติ มิฉะนั้นอาจได้รับอันตราย
2. ครอบครองได้เพียงชิ้นเดียว ใครฝ่าฝืนจะเกิดอาการ "สามเส้าดีซีส"
ทำให้ทุรนทุราย อยากฆ่าตัวตาย

ชื่อธาตุ : MAN
สูตรทางเคมี : MA+N
ผู้ค้นพบ : WOMAN
ลักษณะทั่วไป : ความยาว 170 ซม. แต่อาจแปรเปลี่ยนได้จาก 150 - 200 ซม. แล้วแต่ว่าพบในภาคใด

คุณสมบัติทางพันธุศาสตร์
1. เจริญเติบโตได้ดีในนิโคตินและแอลกอฮอล์
2. ชอบความรุนแรง
3. ตามธรรมชาติ มีกลิ่นเหม็น
4. เฉาง่าย หากไม่ได้รับการเอาอกเอาใจ
5. อยู่ไม่เป็นที่ ชอบอยู่ตามที่ต่างๆ หาตัวยาก
6. แปรเปลี่ยนไปได้หลายสปีชี แล้วแต่สถานการณ์
7. การตอบสนองช้า ทนต่อการเสียดสี ได้ดี

คุณสมบัติทางเคมี
1. มีสารประกอบใช้ทำยาระบาย และ ยาเบื่อ ได้ดี
2. ทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับสิ่งสวยงามที่ผ่านหน้า
3. เปลี่ยนได้หลายสี ตามแต่ถิ่นที่อยู่อาศัย
4. มีคุณสมบัติเปลี่ยนรูปทรงได้เมื่อพบตระกูลใกล้เคียง

การทดสอบ
1. เมื่อตัดเนื้อเยื่อมาวิเคราะห์ พบว่าส่วนหน้ามีความหนา มากกว่าส่วนอื่นๆ
2. เมื่อสุ่มตัวอย่างทดลองเลี้ยงพบว่า ชอบเกาะยึดเป็นปราสิต มากกว่าเจริญเติบโตด้วยตัวเอง

ประโยชน์
1. ในสายพันธ์ที่ดี หากนำมาไว้ในบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ร่ำรวยเงินทอง แต่ไม่ค่อยพบในประเทศไทย
2. เป็นเพื่อนเล่นยามเหงา
3. เป็นยามเฝ้าบ้านที่ดี เอาไว้ป้องกันตัวก็ได้
4. เป็นพาหนะใช้แบกขนสัมภาระได้ ยามชอปปิ้ง

ข้อควรระวัง
1. ควรเลี้ยงด้วยความระมัดระวัง มิฉะนั้นอาจออกนอกลู่นอกทาง
2. ไม่ควรให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เพราะจะยิ่งช่วยเร่งคุณสมบัติทางพันธุศาสตร์
__________________

ยินดีต้อนรับทุกคนที่มาเยี่ยมเยือน

ขอต้อนรับด้วยกลอนเคมี
ความรักนั้น เหมือนเคมี ไม่มีผิด
สารทุกอัน ทุกชนิด คือเหตุผล
เอาโซเดียม คลอไรด์ ลงน้ำวน
ดั่งเศษเกลือ ในสายชล ที่วนไป

เอแอลสอง โอสาม ไอออนิก
ซัลฟิวริก โคเวเลนต์ ไม่สงสัย
น้ำน่ะเป็น H-bond ก็แล้วไง
แต่หัวใจ ชั้นไปเป็น พันธะเธอ

หนึ่งโมลนั้น มีอะตอม อยู่หลายล้าน
มาประสาน กลายเป็นธาตุ หนึ่งโมลนี้
เธอรวมกัน กลายเป็น สิ่งชั้นมี
หัวใจชั้น ดวงนี้ มีแต่เธอ

แอลเคนเป็น พันธะหนึ่ง อยู่เสมอ
เหมือนกับชั้น รักเธอ ไม่หวั่นไหว
แต่เธอเป็น แอลคีน มีสองใจ
บางครั้งเป็น แอลคายน์ ใจสามอัน

เธอเป็นกรด ชั้นเป็นด่าง ก็ไม่แปลก
อาจแตกแยก เรื่องของค่า pHหนา
แต่พอลอง ผสมกัน มาซักครา
เราจะเกิด ปฏิกิริยา มารักกัน

ค่า IE คือค่าที่ ดึงอิเล็กฯ
Eศูยน์มา นั่งเช็ค ศักย์ไฟฟ้า
แต่ OU คือค่าอะไรกันหว่า
อ๋อรู้แล้ว มันคือค่า Only you

เอากระดาษ ลิตมัส ไว้ตรวจกรด
ยังไม่หมด ฟินอลเรด ตรวจเบสไหว
อินดิเคเตอร์ ตัวไหน ตรวจหัวใจ
เอามาให้ ชั้นเช็คใน หัวใจเธอ

กราฟอันนี้ บอกถึงการ สลายพันธะ
มันต้องจะ ปฏิกิริยา ดูดความร้อน
กราฟอันนี้ บอกชั้น ใจสั่นคลอน
มันยอมอ่อน ให้เธอ ในทุกครา

ใส่ตัวเร่ง ให้มัน ทำเร็วขึ้น
ใส่ใจจึง ให้รัก มักเร็วรี่
จะใส่ใจ ให้เธอรัก ทุกนาที
คาตาเลส ที่ดี คือใส่ใจ

เธอรักชั้น เป็นสมดุล เลื่อนข้างหน้า
ชั้นกลับมา รักเธอ ย้อนกลับหลัง
ค่าคงที่ สมดุล ช่างน่าชัง
ค่า K นั้น มันยัง เป็นล้านเอย

เอา Li ลบด้วย i ออกไปหนึ่ง
อ๊อกซิเจนพึง เป็น O ร่วมประสาน
วาเนเดียม ตัว V กับ พลังงาน
รวมประสาน กลายเป็น LOVE คือรักเอย