วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธาตุไฮโดรเจน และ ธาตุกึ่งโลหะ

ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ

ธาตุไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายคลึงกับธาตุหมู่ IA และ ธาตุหมู่ VII A จึงไม่จัดธาตุไฮโดรเจนเข้ากับหมู่ IA หรือหมู่ VIIA
สมบัติของธาตุไฮโดรเจนมีดังนี้
1. มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 เหมือน หมู่ I A แต่ขาดอีก 1 จะจัดเรียงอิเล็กตรอนเหมือนก๊าซเฉื่อย
2. ในสารประกอบทั่วไปมีเลขออกซิเดชันเป็น +1 เหมือนกับหมู่ I A แต่มีเลขออกซิเดชันเป็น –1 ในสารประกอบไฮไดรด์ เช่น LiH ทำให้ไฮโดรเจนมีเลขออกซิเดชันหลายค่าคล้าย หมู่ VIIA
3. ไฮโดรเจนมีสถานะเป็นของแข็งไม่นำไฟฟ้าเหมือนกับ หมู่ VII A
4. ไฮโดรเจนมีค่า IE1 และ EN สูงเหมือนกับธาตุหมู่ VIIA
ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ

โบรอน (B - Boron) ซิลิคอน (Si - Silicon) เจอร์เมเนียม (Ge - Germanium) สารหนู (As - Arsenic หรือ อาร์เซนิก) พลวง (Sb - Antimony หรือ แอนติโมนี) เทลูเรียม (Te - Tellurium) และแอสทาทีน (As - Astatine) จัดเป็นธาตุกึ่งโลหะเพราะมีสมบัติบางประการเหมือนอโลหะ ซิลิคอนและเจอร์เมเนียมใช้ทำส่วนประกอบของอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นธาตุกึ่งตัวนำ ซึ่งหมายความว่า มันจะสามารถนำไฟฟ้าได้เฉพาะในภาวะหนึ่งเท่านั้น ธาตุกึ่งโลหะเหล่านี้จะอยู่บริเวณเส้นขั้นบันได (ซึ่งทางซ้ายของเส้นขั้นบันไดจะเป็นโลหะ ส่วนทางขวาของเส้นบันไดจะเป็นอโลหะ)
*หมายเหตุ แอสทาทีน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่าเป็นกึ่งโลหะ บางแหล่งข้อมูลก็กล่าวว่าเป็นอโลหะ

กึ่งโลหะ ( Metalloid ) : ธาตุที่มีสมบัติอยู่ระหว่างโลหะและอโลหะ ในตารางธาตุจะพบในแนวทแยงเป็นแนวเส้นบันไดระหว่างโลหะและอโลหะ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ดูglitter สวยๆสลับแล้วคอยอ่านต่อ

รักแม่จัง
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
สู้ สู้ สู้
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
ใกล้สอบแล้วดูแลสุขภาพด้วยนะ
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

halogen

ลองอ่านและเปิดดูซิ
สมบัติของหมู่ธาตุแฮโลเจน
- หมู่ธาตุแฮโลเจน ได้แก่ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน และแอสทาทีน
- เป็นธาตุหมู่ VII A ในตารางธาตุ
- เป็นธาตุที่มีพิษทุกธาตุและมีกลิ่นแรง
- โมเลกุลของธาตุแฮโลเจนประกอบด้วย 2 อะตอม (Cl2, Br2, I2)
- ทำปฏิกิริยากับโลหะได้เกลือ เช่น NaCl LiF
- แฮโลเจนไอออนมีประจุบลบหนึ่ง (F-, Cl-, Br-, I-, At-)
ธาตุหมู่ 7 (เฮโลเจน)
1. เป็นธาตุหมู่เดียวที่ 1 โมเลกุล มี 2อะตอม เรียกว่า Diatomic Molecule
2. จากความสามารถในการออกซิไดส์ในธาตุหมู่ 7 ทำให้สามารถเตรียมก๊าซหมู่ 7 โดยอาศัยสมบัติได้
3. พบเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ และพบในรูปของสารประกอบไอออนิกและโคเวนเลนต์
4. สารประกอบของหมู่ 7 ส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี
สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของธาตุหมู่ VIIA ได้ดังนี้
1. เป็นพวกอโลหะ มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 สภาวะปกติ F2 และ Cl2 เป็นก๊าซสีเหลืองอ่อนและเขียวอ่อนตามลำดับ Br2 เป็นของเหลวสีน้ำตาลแดง และ I2 เป็นของแข็งสีม่วง ซึ่งสีของธาตุแฮโลเจนจะเข้มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ทุกตัวเป็นสารพิษ
2. ความเป็นอโลหะจะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น หรือความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
3. ธาตุแฮโลเจนทุกตัวอยู่ในสภาพโมเลกุลอะตอมคู่ (diatomic molecule) ทุกสถานะทั้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซ โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
4. ไม่นำความร้อนและไฟฟ้าเพราะเป็นอโลหะ
5. อะตอมมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
6. ธาตุหมู่ VIIA ละลายในน้ำได้เล็กน้อยและให้สีต่างๆ กัน เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วจึงละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ใน CCl4
Cl2 ใน CCl4 ไม่มีสี
Br2 ใน CCl4 สีส้ม
I2 ใน CCl4 สีม่วง
ซึ่งในตัวทำละลายดังกล่าวนี้ธาตุหมู่ VIIA ทุกชนิดจะอยู่ในรูปของโมเลกุลอิสระเหมือนกับในสภาวะเป็นก๊าซ
ในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น H2O, C2H5OH , CH3COCH3 , ทั้ง Br2 และ I2 จะมีสีน้ำตาลแดง เนื่องจากเกิดสารประกอบเชิงซ้อนขึ้น
7. ความหนาแน่นน้อย แต่ความหนาแน่นจะเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
8. มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอต่ำ เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (คือแรงวันเดอร์วาลส์) น้อย แต่จุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะมีแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การระเหยของธาตุหมู่ VIIA จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น
9. มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด ในคาบเดียวกัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
10. มี IE1 ค่อนข้างสูง และค่า IE1 จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เนื่องจากขนาดใหญ่ขึ้น
11. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เนื่องจากมี 7 เวเลนต์อิเล็กตรอน ซึ่งสามารถจะให้หรือรับอิเล็กตรอนจากธาตุอื่น หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกับธาตุอื่นๆ ซึ่งมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างๆ กันได้ ทำให้มีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น ตัวอย่างของธาตุ Cl มีเลขออกซิเดชันตั้วแต่ -1 ถึง +7
12. เกิดสารประกอบได้หลายชนิด เช่น NaCl CaF2 HF KI และยังเกิดสารประกอบที่มีธาตุองค์ประกอบชนิดเดียวกันได้หลายชนิด เพราะมีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น NaClO NaClO2 NaClO3 NaClO4 Cl2O ClO2 ClO3 และ Cl2O7 เป็นต้น
13. ธาตุที่อยู่ตอนบนของหมู่ สามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนล่างได้ แต่ธาตุอยู่ตอนล่างจะไม่ทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนบน จึงสรุปได้ว่า “ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA จะลดลงจากบนลงล่าง” เช่น
F2 ทำปฏิกิริยากับ NaCl ได้ แต่ Cl2 ไม่ทำปฏิกิริยากับ NaF
F2 + 2NaCl → 2NaF + Cl2
Cl2 + NaF → ไม่เกิดปฏิกิริยา
ธาตุอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน
Cl2 + 2NaBr → 2NaCl + Br2
Br2 + NaCl → ไม่เกิดปฏิกิริยา
14. การเตรียมธาตุแฮโลเจนบางธาตุทำได้ดังนี้
2KMnO4 + 16HCl (conc) → KCl + 2MnCl2 + 8H2O + 5Cl2
MnO2 + 4HCl (conc) → MnCl2 + 2H2O + Cl2
2NaBr + MnO2 + 3H2SO4 (conc) → 2NaHSO4 + MnSO4 + 2H2O + Br2
15. ปฏิกิริยาที่สำคัญของสารประกอบแฮไลด์ เมื่อเติมสาร
F- (aq), Cl- (aq), Br- (aq) , I- (aq) กับ Pb(NO3)2 หรือ AgNO3 (aq)
ปฏิกิริยากับสารละลาย AgNO3 และ NH3 หรือแสงสว่าง จัดได้ว่าเป็นวิธีการทดสอบแฮไลด์ไอออน
F- (aq) ไม่ให้ตะกอนกับ AgNO3 (aq)
Cl- (aq) ให้ตะกอนขาว AgCl ซึ่งเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อถูกแสงและละลายได้ใน NH3 (aq)
Br- (aq) ให้ตะกอนเหลืองอ่อน AgBr ซึ่งเปลี่ยนเป็นสีเขียว-เหลือง เมื่อถูกแสงและละลายได้ ใน NH3 เข้มข้น
I- (aq) ให้ตะกอนเหลือง AgI ซึ่งไม่เปลี่ยนสีเมื่อถูกแสงและไม่ละลายใน NH3
การละลายได้ใน NH3 (aq) เพราะเกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่ละลายได้
AgCl (s) + 2NH3 (aq) → [Ag(NH3)2]+ (aq) + Cl- (aq)

ลองเปิดดูซิ


เป็นไงเปิดต่อไปซิ


alkali earth metal

alkali earth metal เป็นยังไงลองอ่านดูซิ
สมบัติของโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ ได้แก่ เบริลเลียม แมกนีเซียม แคลเซียม สตรอนเชียม แบเรียม เรเดียม
- เป็นธาตุหมู่ II A ของตารางธาตุ
- ทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารละลายเบส สารประกอบของโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธพบมากในธรรมชาติ
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธมีความว่องไวแต่ยังน้อยกว่าโลหะอัลคาไล
- โลหะอัลคาไลน์เอิร์ธมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 2
ธาตุหมู่ 2 (โลหะแอลคาไลน์เอิร์น)
1. ทำปฏิกิริยากับน้ำ ได้ด่างและก๊าซไฮโดรเจน
2. ทำปฏิกิริยาได้ดี จึงไม่พบโลหะหมู่ 2 ในธรรมชาติ และพบในรูปสารประกอบ โดยสารประกอบส่วนใหญ่ เป็นพันธะไอออนิก
3. สารประกอบส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี
สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของธาตุหมู่ IIA ได้ดังนี้
1. เป็นธาตุที่มี 2 เวเลนต์อิเล็กตรอน เมื่อเป็นไอออนจึงมีประจุเป็น +2
2. เป็นธาตุที่จัดอยู่ในกลุ่มของโลหะ ความเป็นโลหะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
3. เป็นโลหะที่นำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี เพราะมีพันธะโลหะ
4. มีความหนาแน่นมากกว่าโลหะหมู่ IA ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงมากกว่าโลหะหมู่ IA และความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
5. รัศมีอะตอมเล็กกว่าหมู่ IA และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
6. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีค่าค่อนข้างสูง แต่มีแนวโน้มที่ลดลงเมื่อมวลอะตอมเพิ่มขึ้น
7. IE1 มีค่าค่อนข้างน้อย (แต่มากกว่าหมู่ IA ในคาบเดียวกัน) และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
8. อิเล็กโทนเนกาติวิตีมีค่าน้อย และมีค่าลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
9. เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดี ค่า E0 มีค่าลดลงตามลำดับเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น แสดงว่าความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์จะเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
10. ทำปฏิกิริยากับน้ำได้ก๊าซ H2 และสารละลายแสดงสมบัติเป็นเบส แต่ปฏิกิริยาไม่รุนแรงเหมือนกับธาตุหมู่ IA เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น การทำปฏิกิริยากับน้ำจะเกิดได้เร็วขึ้น
เขียนสมการทั่วๆ ไปได้ดังนี้
M + 2H2O →M(OH)2 + H2
เช่น
Mg + 2H2O → Mg(OH)2 + H2
Ca + 2H2O → Ca(OH)2 + H2
11. เกิดเป็นสารประกอบต่างๆ ได้เช่น คลอไรด์ ออกไซด์ ซัลไฟด์ ซัลเฟต เป็นต้น โดยมีสูตรและสมบัติต่างๆ คล้ายๆ กัน
12. สารประกอบของหมู่ IIA ส่วนมากเป็นสารประกอบไอออนิก (ยกเว้นสารประกอบของธาตุ Be เช่น BeCl2 , BeSO4 เป็นสารประกอบโคเวเลนต์ ) ดังนั้นส่วนมากจึงละลายน้ำได้ เช่นเกลือไนเตรต เกลือคลอไรด์ ละลายน้ำได้ แต่เกลือคาร์บอนเนต เกลือซัลเฟต (ยกเว้น MgSO4) และเกลือฟอสเฟต ละลายน้ำได้น้อยมาก
13. เมื่อเผาสารประกอบของธาตุหมู่ IIA จะให้เปลวไฟสีต่างๆ กัน เช่น
สารประกอบของ
ตัวอย่าง
สีของเปลวไฟCa CaCO3 CaCl2 แดงเข้ม
Sr SrCO3 SrSO4 แดงเลือดนก
Ba BaCO3 BaSO4เขียว

alkalimetal

alkalimetalเป็นอย่างไรลองอ่านซิ
สมบัติของโลหะอัลคาไล
- โลหะอัลคาไล ได้แก่ ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม และแฟรนเซียม
- โลหะอัลคาไลจัดเป็นธาตุหมู่ I A ของตารางธาตุ
- เป็นโลหะอ่อน ใช้มีดตัดได้
- ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จึงต้องเก็บไว้ในน้ำมัน
- ออกไซด์และไฮดรอกไซด์ของโลหะอัลคาไล ละลายน้ำได้สารละลายเบสแก่
- เมื่อเป็นไอออน จะมีประจุบวก
- โลหะอัลคาไลทำปฏิกิริยากับอโลหะบางชนิดได้ผลึกเกลือสีขาว ละลายน้ำได้
- มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ มีความหนาแน่นต่ำเมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ
- มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 1
ปฏิกิริยาธาตุหมู่ 1 (โลหะแอลคาไลน์)
1. ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ ได้ด่างและก๊าซไฮโดรเจน
2. ทำปฏิกิริยาได้ดีมาก จึงไม่พบโลหะหมู่ 1 ในธรรมชาติ แต่จะพบสารเหล่านี้ในสารประกอบโดยสารประกอบทุกตัวเป็นพันธะไอออนิก
3. สารประกอบทุกตัวละลายน้ำได้ทุกตัว
4. ความหนาแน่นต่ำ ลอยน้ำได้ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ไม่สูงนัก
สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของธาตุหมู่ IA ได้ดังนี้
1. เป็นธาตุที่มี 1 เวเลนต์อิเล็กตรอน
2. เป็นของแข็ง ยกเว้น Cs เป็นของเหลว แต่จัดว่าเป็นประเภทโลหะอ่อน สามารถตัดด้วยมีดได้ง่าย ทำให้เป็นชิ้น แผ่น หรือดึงเป็นเส้นลวดได้ง่าย
3. เป็นโลหะที่นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก เพราะมีพันธะโลหะ
4. ความเป็นโลหะเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
5. ทำปฏิกิริยากับน้ำ เกิดปฏิกิริยารุนแรง คายความร้อนมาก และติดไฟได้ได้สารละลายที่แสดงสมบัติเป็นเบส จึงเรียกว่า โลหะแอลคาไล
เขียนสมการทั่วๆ ไป สำหรับแสดงปฏิกิริยากับน้ำได้ดังนี้
2M + 2H2O → 2MOH + H2
เช่น
2Na + 2H2O → 2NaOH + H2
2Li + 2H2O → 2LiOH + H2
เนื่องจากเกิดปฏิกิริยากับน้ำได้ง่าย และยังสามารถทำปฏิกิริยากับ O2 ได้ด้วย ดังนั้นจึงต้องเก็บโลหะแอลคาไลในน้ำมัน
6. เป็นธาตุที่ชอบให้อิเล็กตรอนแก่ธาตุอื่นๆ เรียกว่า electropositive element แล้วกลายเป็นไอออนที่ประจุ +1
7. รัศมีอะตอมและรัศมีไอออนเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
8. มีค่า IE1 น้อยที่สุด ในคาบเดียวกัน และค่า IE1 จะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น
9. มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อย เมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ ในคาบเดียวกัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
10. เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าโลหะอื่นๆ ในคาบเดียวกัน นอกจากนี้จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะความแรงของพันธะโลหะลดลง
11. เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีมาก โดยเฉพาะ Li เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีที่สุด
12. ความหนาแน่นน้อยกว่าโลหะอื่นๆ ที่อยู่ในคาบเดียวกัน แต่ความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
13. ทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ เกิดเป็นสารประกอบได้ง่าย และเป็นสารประกอบไอออนิก สารประกอบคลอไรด์ คาร์บอเนต ซัลเฟต ไนเตรต ฟอสเฟต โดยมีจุดหลอมเหลวสูงมาก
14. สารประกอบของธาตุหมู่ IA ละลายน้ำได้ดีมาก ดังแสดงในตารางที่ 7.35
15. เมื่อเผาสารประกอบของหมู่ IA จะได้เปลวไฟที่มีสีต่างๆ กัน เช่น Li มีสีแดงสด หรือแดงเลือดนก Na ให้สีเหลือง K ให้สีม่วงน้ำเงิน เป็นต้น
ด่างคือ Alkali
ที่ Li Na K Rb Cs เป็น alkali metal เพราะทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง(Alkali) ต่างหาก
เช่น โลหะโซเดียม
2Na(s)+2H2O(l)--------->2NaOH(aq)+H2(g)
ด่างทุกตัวไม่ใช่เบสทั้งหมด
แต่เบสทุกตัวเป็นด่าง
ดังนั้นไม่สามารถแทนคำว่าเบสด้วยด่างได้
ปล.Alkali Earth คือธาตุหมู่ IIA ได้แก่ Be Mg Ca Sr
ทำปฏิกิริยากับน้ำได้ด่างเช่นเดียวกัน แต่พบในผิวโลกมากเลยเรียงว่าอัลคาไลเอิร์ธ
ดังสมการ
Mg(s)+2H2O(l)-------->Mg(OH)2+H2(g)
เบส
อาร์เรเนียส(Arrhenius)
เบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ OH-
ตัวอย่าง สมการที่เป็นไปตามทฤษฎีของ อาร์เรเนียส
1.HCl(aq)+H2O(l)----- > H3O+(aq) + Cl-(aq)
2.LiOH(s)----- > Li+ (aq) + OH- (aq)
เบรินสเตต-ลาวรี(Bronsted-Lowry)
เบส คือ สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น

ปฏิกิริยาของหมู่1A กับน้ำ

ลองเปิดดูซิ จำด้วยนะ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ 2A + 2H2O --- > 2AOH + H2
ถ้า A คือโลหะหมู่1A

Alkali Metals (Explosive!!!) - The top video clips of the week are here

ลองดูอีกอันไหม

ตื่นเต้นไหม ตอบด่วน ครูสุ

แด่ครูด้วยดวงใจ

รักครู ห่วงครู ตั้งใจเรียนนะ ขอให้ประสบความสำเร็จนะ


รักแม่ไหม ลองฟังเพลงเพื่อแม่ซิ

รักแม่ห่วงแม่ ต้องขยันเรียนนะ


สมบัติของธาตุในตารางธาตุ

สมบัติของธาตุในตารางธาตุ มีอะไรบ้างลองเปิดดูซิ
http://tanticyber.tanti.ac.th/File_moodle/periodic/movie1.swf

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมบัติสารประกอบของธาตุตามคาบ

สมบัติของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุคาบ2และ3

http://tanticyber.tanti.ac.th/File_moodle/periodic/movie2.swf

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมบัติของธาตุ ลองอ่านซิ

แร่ธาตุชื่อ WOMAN

ชื่อธาตุ : WOMAN สัญลักษณ์ Wo ผู้ค้นพบ Man
มวลอะตอม : มาตรฐาน 50 กก.แต่อาจแปรเปลี่ยนได้จาก 40-80 กก.
ลักษณะทั่วไป : คล้ายกันหมดหากอยู่ในเขตเมือง

คุณสมบัติฟิสิกส์
1. พื้นผิวส่วนใหญ่เคลือบด้วยสารหอมระเหย และน้ำมันบำรุงผิว
2. เดือดที่อุณหภูมิต่างๆ เอาแน่ไม่ได้
3. ถึงจุดเยือกแข็งทันทีทันใดโดยไม่รู้สาเหตุ
และอาจอยู่ที่จุดเยือกแข็งได้เป็นอาทิตย์
4. หลอมละลายหากได้รับการเอาอกเอาใจถูกวิธี
5. มีรสเผ็ดและขมถ้าใช้ผิดวิธี
6. แปรเปลี่ยนได้หลายสถานะตั้งแต่แข็งเป็นหิน จนถึงอ่อนปวกเปียกเป็นขี้ผึ้งลนไฟ
7. ไม่ทนต่อการเสียดสี กระแทกกระทั้น

คุณสมบัติทางเคมี
1. บ้างมีฤทธิ์เป็นกรด บ้างหวานกว่าน้ำตาล บ้างเปรี้ยวอมหวาน
2. ทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับเพชร พลอย ทอง ทับทิม ดอกไม้
และสิ่งสวยงามทุกชนิด ฯลฯ
3. ดูดซึมข้อมูลข่าวสารรอบตัวได้มากมายมหาศาล
4. อาจจะระเบิดอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
5. มีคุณสมบัติละลายเงินในกระเป๋าเมื่อเดินผ่านห้างสรรพสินค้า
6. เข้ากันเป็นเนื้อเดียว (Compatible) กับผลไม้รสเปรี้ยว ผักสลัด
และไม่เข้ากับไขมันทุกประเภท

การทดสอบ
1. วัตถุตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มเมื่อถูกสัมผัส
2. วัตถุตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่อวางถัดจากตัวอย่างที่สวยกว่า
3. วัตถุตัวอย่างจะส่งเสียงไม่หยุดเมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ประโยชน์
1. แบกโลกไว้ครึ่งหนึ่ง
2. ดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์
3. ทำให้โลกสดใส
4. สร้างความอ่อนโยนให้เกิดในสังคมมนุษย์

ข้อควรระวัง
1. สัมผัสด้วยความประณีตและให้เกียรติ มิฉะนั้นอาจได้รับอันตราย
2. ครอบครองได้เพียงชิ้นเดียว ใครฝ่าฝืนจะเกิดอาการ "สามเส้าดีซีส"
ทำให้ทุรนทุราย อยากฆ่าตัวตาย

ชื่อธาตุ : MAN
สูตรทางเคมี : MA+N
ผู้ค้นพบ : WOMAN
ลักษณะทั่วไป : ความยาว 170 ซม. แต่อาจแปรเปลี่ยนได้จาก 150 - 200 ซม. แล้วแต่ว่าพบในภาคใด

คุณสมบัติทางพันธุศาสตร์
1. เจริญเติบโตได้ดีในนิโคตินและแอลกอฮอล์
2. ชอบความรุนแรง
3. ตามธรรมชาติ มีกลิ่นเหม็น
4. เฉาง่าย หากไม่ได้รับการเอาอกเอาใจ
5. อยู่ไม่เป็นที่ ชอบอยู่ตามที่ต่างๆ หาตัวยาก
6. แปรเปลี่ยนไปได้หลายสปีชี แล้วแต่สถานการณ์
7. การตอบสนองช้า ทนต่อการเสียดสี ได้ดี

คุณสมบัติทางเคมี
1. มีสารประกอบใช้ทำยาระบาย และ ยาเบื่อ ได้ดี
2. ทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับสิ่งสวยงามที่ผ่านหน้า
3. เปลี่ยนได้หลายสี ตามแต่ถิ่นที่อยู่อาศัย
4. มีคุณสมบัติเปลี่ยนรูปทรงได้เมื่อพบตระกูลใกล้เคียง

การทดสอบ
1. เมื่อตัดเนื้อเยื่อมาวิเคราะห์ พบว่าส่วนหน้ามีความหนา มากกว่าส่วนอื่นๆ
2. เมื่อสุ่มตัวอย่างทดลองเลี้ยงพบว่า ชอบเกาะยึดเป็นปราสิต มากกว่าเจริญเติบโตด้วยตัวเอง

ประโยชน์
1. ในสายพันธ์ที่ดี หากนำมาไว้ในบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ร่ำรวยเงินทอง แต่ไม่ค่อยพบในประเทศไทย
2. เป็นเพื่อนเล่นยามเหงา
3. เป็นยามเฝ้าบ้านที่ดี เอาไว้ป้องกันตัวก็ได้
4. เป็นพาหนะใช้แบกขนสัมภาระได้ ยามชอปปิ้ง

ข้อควรระวัง
1. ควรเลี้ยงด้วยความระมัดระวัง มิฉะนั้นอาจออกนอกลู่นอกทาง
2. ไม่ควรให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เพราะจะยิ่งช่วยเร่งคุณสมบัติทางพันธุศาสตร์
__________________

ยินดีต้อนรับทุกคนที่มาเยี่ยมเยือน

ขอต้อนรับด้วยกลอนเคมี
ความรักนั้น เหมือนเคมี ไม่มีผิด
สารทุกอัน ทุกชนิด คือเหตุผล
เอาโซเดียม คลอไรด์ ลงน้ำวน
ดั่งเศษเกลือ ในสายชล ที่วนไป

เอแอลสอง โอสาม ไอออนิก
ซัลฟิวริก โคเวเลนต์ ไม่สงสัย
น้ำน่ะเป็น H-bond ก็แล้วไง
แต่หัวใจ ชั้นไปเป็น พันธะเธอ

หนึ่งโมลนั้น มีอะตอม อยู่หลายล้าน
มาประสาน กลายเป็นธาตุ หนึ่งโมลนี้
เธอรวมกัน กลายเป็น สิ่งชั้นมี
หัวใจชั้น ดวงนี้ มีแต่เธอ

แอลเคนเป็น พันธะหนึ่ง อยู่เสมอ
เหมือนกับชั้น รักเธอ ไม่หวั่นไหว
แต่เธอเป็น แอลคีน มีสองใจ
บางครั้งเป็น แอลคายน์ ใจสามอัน

เธอเป็นกรด ชั้นเป็นด่าง ก็ไม่แปลก
อาจแตกแยก เรื่องของค่า pHหนา
แต่พอลอง ผสมกัน มาซักครา
เราจะเกิด ปฏิกิริยา มารักกัน

ค่า IE คือค่าที่ ดึงอิเล็กฯ
Eศูยน์มา นั่งเช็ค ศักย์ไฟฟ้า
แต่ OU คือค่าอะไรกันหว่า
อ๋อรู้แล้ว มันคือค่า Only you

เอากระดาษ ลิตมัส ไว้ตรวจกรด
ยังไม่หมด ฟินอลเรด ตรวจเบสไหว
อินดิเคเตอร์ ตัวไหน ตรวจหัวใจ
เอามาให้ ชั้นเช็คใน หัวใจเธอ

กราฟอันนี้ บอกถึงการ สลายพันธะ
มันต้องจะ ปฏิกิริยา ดูดความร้อน
กราฟอันนี้ บอกชั้น ใจสั่นคลอน
มันยอมอ่อน ให้เธอ ในทุกครา

ใส่ตัวเร่ง ให้มัน ทำเร็วขึ้น
ใส่ใจจึง ให้รัก มักเร็วรี่
จะใส่ใจ ให้เธอรัก ทุกนาที
คาตาเลส ที่ดี คือใส่ใจ

เธอรักชั้น เป็นสมดุล เลื่อนข้างหน้า
ชั้นกลับมา รักเธอ ย้อนกลับหลัง
ค่าคงที่ สมดุล ช่างน่าชัง
ค่า K นั้น มันยัง เป็นล้านเอย

เอา Li ลบด้วย i ออกไปหนึ่ง
อ๊อกซิเจนพึง เป็น O ร่วมประสาน
วาเนเดียม ตัว V กับ พลังงาน
รวมประสาน กลายเป็น LOVE คือรักเอย